โรค ที่มาพร้อมหน้าฝน พร้อมเตรียมตัวรับมือ ป้องกัน

721 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรค ที่มาพร้อมหน้าฝน พร้อมเตรียมตัวรับมือ ป้องกัน

ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ นอกจากเรื่องลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงแล้ว "โรคหน้าฝน" ก็เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจป้องกันสุขภาพอีกด้วย จะมีวิธีป้องกันและสังเกตุอย่างไร วันนี้เรารวมมาให้แล้ว

1. โรคไข้เลือดออก : โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติไปจนถึงเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

อาการ

  • มีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน
  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
  • หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ อุจจาระมีเลือดปน
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก หลังจากมีไข้มาแล้วหลายวันผู้ป่วยอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อก และเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า กลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (dengue shock syndrome) โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ วัดชีพจรไม่ได้
วิธีป้องกัน
  • ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด ใช้สารไล่ยุงชนิดต่างๆ เช่น DEET รวมถึงป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาหลบซ่อนในบ้าน ทั้งนี้ ยุงลายมักกัดในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน
  • ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านและใกล้เคียง ด้วยการปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังไม่ให้ยุงเข้าไปวางไข่ได้ เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดไม่ได้ เช่น แจกัน ทุกสัปดาห์ *- - ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาดปราศจากเศษวัสดุที่อาจมีน้ำขังได้ เช่น ขวดเก่า กระป๋องเก่า เป็นต้น
  • ในรายที่อายุมากกว่า 9 ปี และน้อยกว่า 45 ปี ร่วมกับมีประวัติ เคยเป็นไข้เลือดออกมาแล้ว อาจพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจากสายพันธุ์อื่น"

 

2. ไข้หวัด : ไข้หวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะน่าฝน มักเป็นไข้หวัดกันเยอะ เป็นเพราะไข้หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ในทางเดินหายใจส่วนต้น ที่ส่งผลกระทบต่อจมูกและคอ มักจะเกิดเมื่ออุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ตัวเปียกฝน อากาศเปลี่ยน ฯลฯ

อาการ

  • ไข้ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • คัดจมูก มีน้ำมูกใส จาม
  • คอแห้ง เจ็บคอ
  • อาจมีอาการไอ ซึ่งมีได้ทั้งไอแห้งหรือไอมีเสมหะ
วิธีป้องกัน
  • ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม จะช่วยลดการติดเชื้อโรคได้
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวลาที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง
  • ไม่ควรเข้าไปในที่ที่มีคนแออัด โดยเฉพาะเวลาที่มีการระบาดของไข้หวัด
  • ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมด้วยน้ำที่เย็นเกินไปโดยเฉพาะในเวลาที่มีอากาศเย็น
  • ดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ

 

3. ไข้หวัดใหญ่ : ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคหน้าฝนที่เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซา (Influenza Virus) อาจมีอาการเริ่มต้นเหมือนไข้หวัด ส่วนใหญ่สามารถหายเป็นปกติได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีความรุนแรง ทำให้เกิดปอดอักเสบและเสียชีวิตได้

อาการไข้หวัดใหญ่
  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาฯ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น
  • เบื่ออาหาร
  • คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ
  • บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
วิธีป้องกัน
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัดหรือใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องการการติดเชื้อ
  • ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่"

 

4. อหิวาตกโรค :เกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อแบคเรียหรือติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการท้องเสียฉับพลัน มักเกิดในชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่น และไม่มีน้ำสะอาดใช้อย่างพอเพียง ไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ร้านอาหารไม่สะอาด ถูกหลักอนามัย

อาการอหิวาตกโรค
  • ท้องร่วง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • บางรายอาจมีการถ่ายเป็นมูกเลือด
  • หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้
วิธีป้องกันอหิวาตกโรค
  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำและก่อนกินอาหาร
  • ดื่มน้ำต้มสุกและสะอาด
  • กินอาหารปรุงสุก
  • หลีกเลี่ยงอาหารดิบ
  • รับประทานผลไม้ที่ปอกเปลือกเอง
  • ระวังผลิตภัณฑ์เนยนม"

 

5.โรคตาแดง โรคตาแดง เป็นโรคหน้าฝนที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดพร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรงเช่น สัมผัสกับขี้ตาหรือน้ำตาที่ติดอยู่บนมือหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยสัมผัส จากการใช้สิ่งของร่วมกัน และจากการหายใจหรือไอจามรดกัน มักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กไม่ระมัดระวังในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคเท่ากับผู้ใหญ่

อาการโรคตาแดง
  • ตาแดง
  • ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา
  • คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา
  • น้ำตาไหล
  • เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
  • ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้ตามากทำให้ลืมตายากในช่วงตื่นนอน
วิธีป้องกันโรคตาแดง
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ เครื่องสำอาง แว่นตา
  • หลีกลี่ยงการสัมผัสน้ำท่วมขังหรือน้ำสกปรก ระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตา
  • ไม่ควรใช้มือขยี้ตา
  • ผู้ที่เป็นโรคตาแดง ควรงดการใช้ของสาธารณะหรือไปในที่สาธารณะจนกว่าจะหาย
  • ไม่ควรใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น ควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการหยอดยาเสมอ

อ้างอิงข้อมูลจาก:  https://www.bumrungrad.com/th/conditions/influenza 
https://today.line.me/th/v2/article/1DVoME2?utm_source=lineshare 

สยามสไมล์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้