พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
ใจความสำคัญของประกัน พ.ร.บ. ก็คือ ต้องการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิด หรือถูก หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
นอกจากรถยนต์ที่ต้องทำและต่ออายุประกัน พ.ร.บ.ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก ต่างก็ต้องทำ พ.ร.บ. ด้วยด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับ จะเป็นอัตราเบี้ยคงที่ ไม่มีการเพิ่ม แต่ราคาจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ
พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง
ในกรณีที่เกิดเหตุความเสียหายขึ้นกับรถที่ทำประกัน พ.ร.บ. ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น โดยหลังจากเกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ และเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด โดยบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอให้บริษัทชดเชยในความเสียหายจากผู้ประสบภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท/คน
กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน
2. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน เป็นค่าเสียหายหลังจากที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้
กรณีได้รับบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง (มีหลักฐานการชำระเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน) แต่ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน
กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าทดแทนเป็นจำนวนเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 - 500,000 บาท/คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในฐานะ “ผู้ป่วยใน” ภายในสถานพยาบาล ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
พ.ร.บ. รถแต่ละประเภทราคาเท่าไหร่
รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน เบี้ยประกัน พ.ร.บ. = 645.21 บาท/ปี
รถกระบะน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน เบี้ย พ.ร.บ. = 967.28 บาท/ปี
รถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง = 1,182.35 บาท/ปี
สำหรับเบี้ยประกัน พ.ร.บ. เป็นอัตราเบี้ยแบบคงที่ ไม่ว่าคุณจะเคยประสบอุบัติเหตุหรือเคยเบิกเคลมแล้วกี่ครั้งหรือไม่เคยประสบหรือไม่เคยเบิกเลยก็ตาม เบี้ยประกัน พ.ร.บ. ก็จะยังเท่าเดิม ทั้งนี้ ค่าเบี้ยจะขึ้นอยู่กับประเภทรถและขนาดของรถ โดยค่าเบี้ยที่ระบุด้านล่างนี้ได้รวมค่าอากรแสตมป์ และภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เรียบร้อยแล้ว
สามารถซื้อประกัน พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ไหม
ได้เฉพาะกรณีต่ออายุประกัน พ.ร.บ. เท่านั้น โดยสามารถซื้อล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน
ถ้าไม่ทำประกัน พ.ร.บ. จะมีโทษ หรือโดนปรับไหม
แน่นอนว่าประกัน พ.ร.บ. นั้นเป็นประกันภาคบังคับ หากไม่ทำมีโทษเป็นค่าปรับ โดยมีรายละเอียดดังนี้กรณีเจ้าของรถไม่ทำประกัน พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทกรณีคนที่ไม่ใช่เจ้าของรถ ขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำหรือไม่ได้ต่ออายุประกัน พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท กรณีที่เป็นเจ้าของรถไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้นำรถคันนั้นไปใช้ ถือว่าผิดทั้ง 2 กระทง มีโทษปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท
สยามสไมล์