โรคเท้าบวม สัญญาณโรคร้ายที่ตามมา

25497 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคเท้าบวม สัญญาณโรคร้ายที่ตามมา

แบบไหนถึงเรียกเท้าบวม?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า อาการแบบไหนที่เรียกว่า เท้าบวม กันนะ บอกได้เลยว่าสังเกตได้ไม่ยาก โดยหลัก ๆ จะมีอาการ ดังนี้

  • มีอาการตึงที่เท้า ร่องรอยย่นของผิวหนังหายไป
  • ในบางรายอาจใส่รองเท้าแล้วคับ หรือใส่กางเกงแล้วติดขาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • ข้อเท้า หรือเท้าทั้งสองข้างขยายขนาดขึ้นจนเห็นได้ชัด
  • เมื่อสัมผัสบริเวณเท้าอาจจะรู้สึกว่านิ่มผิดปกติ หากลองใช้นิ้วกดลงไปที่เท้าจะเกิดรอยบุ๋มที่เห็นได้ชัด และหากยกนิ้วออกบริเวณที่บุ๋มลงไปจะคืนสู่สภาพเดิมอย่างช้า ๆ ผิดปกติ
  • เกิดรอยพับที่เห็นได้ชัดบนผิวหนังที่บวมเมื่อถอดรองเท้าหรือถุงเท้าออก
  • สีผิวหนังของเท้าที่บวมอาจปกติ หรือซีดกว่าปกติ


สาเหตุที่ทำให้เท้าบวมมีอะไรได้บ้าง

โรคหัวใจ - ในภาวะหัวใจวายน้ำท่วมปอดจะทำให้มีอาการขาบวมทั้งสองข้างอาจจะมีอาการเหนื่อยนอนราบไม่ได้ต้องใช้หมอนหลายใบร่วมด้วย

โรคไต -  ในภาวะของไตวายเรื้อรังจะมีอาการน้ำเกิน ขาบวมทั้งสองข้างเหนื่อยนอนราบไม่ได้ปัสสาวะออกน้อย ส่วนในภาวะไตอักเสบหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ จะพบว่าขาบวมทั้งสองข้างอาจพบความดันโลหิตสูง ปัสสาวะเป็นฟองร่วมด้วยได้ ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการบวมของหนังตาบนทั้งสองข้างได้

โรคเส้นเลือดดำอุดตันที่ขา - มักพบขาบวมข้างใดข้างหนึ่งอาจจะรู้สึกปวดได้ มักพบในคนไข้ที่ไม่ได้ขยับขา คนไข้หลังผ่าตัด คนไข้นอนติดเตียงหรือคนที่รับประทานยาคุมกำเนิดโรคนี้อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันเส้นเลือดดำที่ปอดอันตรายถึงชีวิตได้

การติดเชื้ออักเสบ - การติดเชื้ออักเสบที่เท้าทำให้เท้าบวมมีอาการแดงร้อนและปวดหรือมีไข้ได้ มักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง

โรคหลอดเลือดดำบกพร่อง - ทำให้เลือดไหลย้อนกลับได้ไม่ดีจึงทำให้มีอาการบวมที่ขาข้างที่เป็นได้ โดยเฉพาะการยืนนานๆ

ท่อน้ำเหลืองอุดตัน - ก็สามารถทำให้เกิดภาวะเท้าบวมได้

ยาบางชนิดทำให้เกิดอาการบวมได้ - เช่น ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนโปรเจสเตอโรน ยาความดันบางชนิด สเตียรอยด์ ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) เช่นบรูเฟ่น

ภาวะตั้งครรภ์และอาการแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ - เช่นภาวะครรภ์เป็นพิษ

โรคตับ - ภาวะตับแข็งทำให้เกิดอาการบวมในขาทั้งสองข้างได้มักจะพบท้องบวมโตมีน้ำในช่องท้องได้

การวินิจฉัยใช้การตรวจแลปทางห้องปฏิบัติการ - เช่น การตรวจเม็ดเลือด การตรวจค่าไต การตรวจปัสสาวะเอกซเรย์ปอด การตรวจค่าตับ การประเมินหัวใจ เมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยโรคแล้วก็รักษาตามอาการของโรคนั้นนั้น

ดังนั้นถ้าท่านมีภาวะอาการเท้าบวมสงสัยว่าจะเป็นโรคใดโรคหนึ่งจึงควรมาพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง และควรนำยาที่รับประทานอยู่ทั้งหมดมาพบแพทย์ด้วยเพื่อประเมินว่าอาการบวมนั้นเกิดจากยาหรือไม่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://ch9airport.com 
สยามสไมล์

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้