Club Health "คุณหมออยากบอก"

2239 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Club Health "คุณหมออยากบอก"

“สยามสไมล์” ประกันภัยที่สะดวกใช้ และเชื่อถือได้สูงสุด
เราเป็นบริษัทประกันภัย ที่ครอบคลุมงานประกันภัยทุกรูปแบบ

“สยามสไมล์” เราจะฝ่าวิกฤต Covid-19 ไปด้วยกัน

 “ผลข้างเคียงของวัคซีนนั้นมีแน่แต่พบเป็นส่วนน้อยและไม่รุนแรง แต่มีข้อสังเกตคือส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน” 

สถานการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบัน
ข้อมูล ณ วันที่  25 พ.ค 2564 มีคนติดเชื้อรายใหม่ 3,226 คน ข้อมูลตั้งแต่เริ่มรายงานเคสแรกในประเทศไทย 12 ม.ค 2563 - 25 พ.ค 2564 ติดเชื้อทั้งหมด 135,439 ราย เสียชีวิต 738 ราย นับจาก โดย 12 ม.ค 2563 – 31 มี.ค 2564 ติดเชื้อ 28,863 ราย 1 เม.ย 2564 – 30 เม.ย 2564 ติดเชื้อ 36,078 ราย 1 พ..ค 2564 - 25 พ.ค ติดเชื้อ 2564 พบติดเชื้อ 70,498 ราย หรือนับติดเชื้อตั้งแต่ 1 เม.ญ 2564 – 25 พ.ค 2564 ติดเชื้อ 106,576 ราย จะเห็นว่าเฉพาะเดือนเมษายนเดือนเดียวมีผู้ติดเชื้อมากกว่าตั้งแต่เริ่มระบาด และ 25 วันของเดือนพฤษภาคมมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2 เท่าของเดือนเมษายน แนวโน้มคงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยฌแพาะอย่างยิ่งตอนนี้เชื้อโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ไปหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้ที่รุนแรงมาก สายพันธุ์อินเดียที่กำลังระบาดอย่างรวดเร็วและทุกสายพันธุ์ก็พบแล้วในประเทศไทย ผมคิดว่าถ้าเรายังใช้มาตรการเดิม ๆ ที่เป็นอยู่ในตอนนี้อาจจะมีคนติดเชื้อวันละ 1 หมื่นคนในอีกไม่นาน และถึงตอนนั้นระบบสาธารณสุขคงรับมือไม่ไหวแน่นอน


ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ---> ฉีดหรือไม่ฉีดดี ถ้าจะฉีดแล้ววัคซีนของบริษัทอะไรดีที่สุด
ชนิดของวัคซีน COVID-19

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก มีการคิดค้นวัคซีนโควิด-19 โดยหลายบริษัทผู้ผลิตและหลายรูปแบบ วิธีการผลิตวัคซีนหรือที่มาของวัคซีนมีหลายวิธีการ แต่ทั้งหมดคือให้ต่อต้านไวรัสโคโรนาซาร์โควี-2 (SAR-CoV-2) ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายเพื่อไปก่อโรคได้ โดยที่ไวรัสนี้จะมีส่วนที่เป็นไกลโคโปรตีนยื่นออกจากเซลล์เรียกว่าสไปค์ (Spike) จะไปจับกับตัวรับ (Receptor) ที่อยู่บนเซลล์ในร่างกาย เช่น ที่ทางเดินหายใจหรือลำไส้ เมื่อจับกันแล้วไวรัสก็จะเข้าสู่ร่างกายและไปก่อโรค โดย 4 วิธีการที่มีการผลิตมากที่สุด ได้แก่

  • messenger RNA (mRNA) vaccine เป็นวัคซีนที่มีส่วนที่กำกับการสร้างโปรตีนของไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะสร้างโปรตีนชนิดนั้นขึ้นมาและทำลาย mRNA ที่ฉีดเข้าไป จากนั้นร่างกายจะรับรู้ว่าโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา
  • Viral Vector เป็นวัคซีนที่ตัดต่อทางพันธุกรรมโดยการใช้สารทางพันธุกรรมของไวรัส SAR-CoV-2 ใส่เข้าไปในตัวไวรัสชนิดอื่นที่ไม่ก่อโรค (เรียกไวรัสนี้ว่า Viral Vector) เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกายแล้ว Viral Vector จะพาเอาสารพันธุกรรมนั้นเข้าไปในเซลล์ของเรา ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ขึ้นมา จากนั้นร่างกายจะรับรู้ว่าโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา
  • Inactivated Virus Vaccine หรือวัคซีนเชื้อตาย ผลิตโดยการเลี้ยงไวรัสชนิดนี้ให้ได้ปริมาณมากแล้วมาทำให้ตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา
  • Protein Subunit Vaccine เป็นการผลิตวัคซีนมาจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา

 

วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564) มี 2 ชนิดคือ

  1. วัคซีนป้องกันโควิด-19 แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca) เป็นวัคซีนแบบ Viral Vector  ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีดเข้ากล้ามครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 4 – 12 สัปดาห์
  2. CoronaVac หรือ Sinovac COVID-19 vaccine เป็นวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 2 – 4 สัปดาห์ (ผู้ที่อยู่บริเวณความเสี่ยงสูงหรือระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์)
ขณะนี้หลายท่านคงได้รับข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนโควิต-19 จากสื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดความสงสัยว่าวัคซีนที่เรามีอยู่ในตอนนี้ดีไหม สามารถป้องกันโรคโควิต-19 ได้จริงหรือเปล่า และวัคซีนนี้มีอันตรายหรือไม่ มีผลข้างเคียงทำให้เสียชีวิต เกิดลิ่มเลือดอุดตันบ้าง บางรายฉีดแล้วมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ ชาครึ่งซีก จริงไหม  ข้อสงสัยนี้ “ขอตอบให้หายกังวลเลยว่าส่วนใหญ่ไม่จริงครับ ผลข้างเคียงของวัคซีนนั้นมีแน่แต่พบเป็นส่วนน้อยและไม่รุนแรง แต่มีข้อสังเกตคือส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 
 
 เราต้องรอด
ทุกคนต้องอยู่ห่างกัน ในช่วงนี้ไม่ไปมาหาสู่กันและกัน ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้านก็ต้องใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ไม่ไปในที่คนมากๆ เมื่อออกนอกบ้านก็ต้องรีบทำธุระให้เสร็จโดยใช้เวลาน้อยที่สุด พกเจลหรือฉีดพ่นแอลกอฮอล์บ่อยๆ นอกจากเราจะปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องแล้วคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันหรือที่ทำงานด้วยกันก็ต้อง ทำตัวเหมือนกันนะครับ หวังว่าพี่น้องสยามสไมล์จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ทุกๆ คน นะครับ 

โดย คุณวีรภัทร ฟุ้งสถาพร (คุณหมอวี)
 แพทย์ประจำบริษัทฯ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้